วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การศึกษาเปรียบเทียบแผ่นภาพการ์ตูนกับการสอนปกติของนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน


            การถ่ายทอดได้รับรู้นั้นนอกจากการบอกด้วยถ้อยคำภาษา  แล้วเรายังสามารถบอกด้วยภาพได้อีก การสื่อสาร   ด้วยภาพนั้นเร้าความสนใจให้อยากรู้อยากเห็นมากขึ้น  โดยเฉพาะผู้ที่เป็นครูชั้นอนุบาล ประถม และมัธยมถ้าหากสาม  สามารถเขียนภาพประกอบคำบรรยาย หรือเล่าเรื่องต่างๆ ได้ก็จะเพิ่มความสนใจความอยากเรียนให้กับเด็กๆ ได้มาก  ยิ่งขึ้น  นอกจากนั้นยังช่วยให้เกิดความสนุกสนานลดความเบื่อหน่ายได้ดี  เพราะภาพเขียนนั้นช่วยขยายหรือแปล  คำพูดของเราจากลักษณะที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม   และการรับรู้ดังกล่าวจะตรึงอยู่ในความทรงจำได้รวด  เร็วกว่ารสอน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่ วิธีการสอนด้วยแผ่นภาพการ์ตูน
               ลักษณะล้อของจริง และวิธีการสอนแบบปกติเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งอาจจะเป็นมากที่สุดคือ  แต่หูตึง ถึงหูหนวก นั่นเอง และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นเด็กนักเรียนที่มีความบพกร่องทางการได้ยินอยู่      ในประเภทของเด็กหูตึง ซึ่งสามารถได้ยินบ้างเล็กน้อย ต้องใช้เครื่องช่วยฟังร่วมด้วย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่   โรงเรียนพญาไท      สามารถในการเขียนประโยค หมายถึง ความสามารถในการเขียนประโยคให้ถูกต้องตรงกับ  ภาพการ์ตูนโดยการใช้แบบทดสอบที่มีการเรียงลำดับคำที่ประกอบในประโยคสลับตำแหน่งกัน แล้วเขียนประโยคโดยจัดตำแหน่งของคำใหม่ให้เป็นประโยคที่มีความหมายถูกต้อง ภาพการ์ตูนคือสื่อที่สามารถนำมาใช้ในการสอนสำหรับเด็กนักเรียนเพราะเด็กจะมีความกระตือรือร้นในการเรียนมากยิ่งขึ้น การนำการ์ตูนมาใช้ประกอบกาเรียนการสอนจึงสร้างบรรยากาศในการเรียนได้เป็นอย่างดีใช้ได้ทั้งกับเด็กปกติ และเด็กพิเศษ ซึ่งมีลักษณะความบกพร่องทางการได้ยินผลสำรวจ
1. การนำภาพการ์ตูนมาใช้ในการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินนั้นสามารถนำไปใช้ ได้กับวิชาอื่นๆ เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เป็นต้น
2. ภาพการ์ตูนที่นำมาใช้ทำเป็นสื่อการสอนสำหรับเด็กควรเป็นภาพง่ายๆ ชัดเจนไม่มีรายละเอียดซับ ซ้อนและมีสีสันสวยงามดึงดูดใจ
3.
  ควรมีการใช้ภาพการ์ตูนสอนร่วมกับตัวแปรอื่นๆ เจตคติ ความคิดสร้างสรรค์ ความคงทนในการ เรียนรู้ ความเข้าใจในการอ่านหรือเขียน เป็นต้น  
4.  ควรมีการนำภาพการ์ตูนไปคัดแปลงเป็นสื่อการสอนชนิดอื่นๆ เช่น วิดีทัศน์หรือนำไปใช้ร่วมกันกับสื่อต่างๆ ในลักษณะสื่อประสม
5. สนับสนุนให้มีการผลิตสื่อการสอนสำหรับใช้สอน นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เพราะการเรียนรู้ที่ช้ากว่านักเรียนปกติ และยังสามารถลดภาระการสอนของครู และช่วยลดเวลาที่ทำการสอนได้เป็นอย่างดี

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สื่อประเภทออฟไลน์

สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ออฟไลน์ offline
ธรรมชาติของสื่อ
สื่อออฟไลน์  offline
           สื่อมัลติมีเดียได้พัฒนาขึ้นก่อนในแบบ ออฟไลน์(offline) คือแบบไม่ใช้สายหรือไม่มีการติดต่อกันทางสาย ซึ่งหมายถึง การนำแผ่นดิสก์หรือแผ่นซีดีรอมที่บันทึกข้อมูล มาเล่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งโดดๆเพียงลำดับเครื่องเดียว (เรียกกันว่าแบบแสตนด์อะโลน(stand alone) แผ่นซีดีรอมใช้อยู่ที่คอมพิวเตอร์เครื่องใด ภาพและเสียงก็จะแสดงผลอยู่ที่เฉพาะเครื่องนั้น
หลักการใช้สื่อออฟไลน์
      เป็นสื่อที่มีข้อมูลข่อนข้างเก่าง่าย และ ยากต่อการปรับปรุงสื่อ offline ที่เป็นที่นิยมกันมากคือ การโฆษณาผ่านหนังสือพิมพ์ แต่สื่อเหล่านี้ ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก ดังนั้น อาจจะทำในสื่อ offline แบบอื่นๆ เช่น ที่คั่นหนังสือ ทำสติกเกอร์ติดรถ หรือ ใส่เสื้อที่มีชื่อเว็บไซต์ของเราเอง เพราะให้หลายๆ คนมองเห็นและคุ้นตากับ
ข้อเด่นของสื่อ offline
             สามารถใช้ได้ทุกที่ๆมีคอมพิวเตอร์ ไม่จำเป็นต้องต่อกับระบบ network เพราะภายในตัวสื่อนี้มีความพร้อมอยู่แล้ว
ข้อด้อยของสื่อ offline            
ไม่สามารถแก้ไข้ข้อมูลได้ตลอดเวลา

สื่อประเภทออนไลน์

สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ออนไลน์ online
ธรรมชาติของสื่อ
สื่อออนไลน์  online           ต่อมาเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องถูกนำมาเชื่อมโยง โดยใช้สายนำสัญญาณและใช้ซอฟแวร์จัดการให้ข้อมูลในเครื่องหนึ่งไปแสดงผลบนเครื่องอื่นได้ สื่อมัลติมีเดียก็ได้พัฒนาขึ้นตามลำดับ และถูกนำไปใช้ในประโยชน์ใน ระบบเครือข่ายเล็กๆ (LAN) นั่นคือเริ่มใช้เป็นสื่อแบบออนไลน์ (online) อาศัยสายสัญญาณที่เชื่อมโยงติดต่อกันนั้นนำข้อมูลมัลติมีเดียจาก เครื่องแม่ข่าย (server) กระจายไปแสดงผลที่ทุกเครื่องที่เป็น ลูกข่าย (clients) ใน เครือข่าย (network)

ข้อเด่นของสื่อ online
1. สามารถถ่ายทอดและเผยแพร่สื่อโดยไร้พรมแดน
2. สามารถปรับปรุงข้อมูลได้ตลอด 
3. ประหยัดเวลาในการศึกษาสื่อ
ข้อด้อยของสื่อ online
1. การป้องกันข้อมูลจากการระเมิดสิทธิเป็นไปได้ยาก 
2. เป็นสื่อที่มีความน่าเชื่อถือต่ำบางสื่อไม่สามารถใช้ศึกษาเชิงวิชาการได้
หลักการใช้สื่อออนไลน์(Online)
           การใช้สื่อออนไลน์มีผลกระทบต่อทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ขึ้นอยู่กับว่าจะมีผลกระทบในด้านใดถ้าเราใช้ไปในทางที่ดีผลกระทบมันก็จะเกิดประโยชน์ เกิดผลดีกับตัวเรา  แต่หากเราใช้ไปในทางที่ผิดผลกระทบที่ไม่ดีมันก็จะเกิดขึ้นกับตัวเราอีกเช่นกันซึ่งทุกคนคงไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองเพราะฉะนั้นเราควรใช้สื่อออนไลน์ตามความจำเป็น และใช้ในทางที่ถูกต้องเพื่อประโยชน์ที่จะได้รับและตัวของคุณเอง
           คนอ่านไม่ชอบอ่านอะไรยาวๆ หรือต้องใช้เวลากับสิ่งหนึ่งนานๆ ดังนั้น เมื่อเข้ามาเพื่ออ่านข้อความสักหนึ่งข้อความ ผู้อ่านต้องการทราบโดยรวดเร็วว่า บทความหรือเนื้อหาที่นำเสนอเกี่ยวกับอะไร มีเรื่องอะไรที่เขาจะอ่านในบทความได้บ้าง โดยลักษณะการอ่านก็คือ “การกวาดสายตา

สื่อประเภทฉาย

          โสตทัศนูปกรณ์ประเภทเครื่องฉาย ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาสาระเป็นอย่างมาก เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนประเภทสื่อโสตทัศน์ให้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชม ทำให้เห็นสิ่งที่เป็นนามธรรมเป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นสิ่งช่วยกระตุ้นความสนใจและช่วยให้เข้าใจเนื้อหาสาระได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ความหมายของ เครื่องฉาย เครื่องฉายมีลักษณะเป็นอุปกรณ์ (Hardware) เป็นสื่อกลางหรือตัวผ่านในการถ่ายทอดข้อมูลเนื้อหาจากโสตทัศนวัสดุที่ไม่สามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้ด้วยตัวเอง ทำให้เนื้อหา ข้อมูลปรากฏขึ้นบนจอรับภาพให้มองเห็นได้
ความสำคัญของเครื่องฉาย สื่อการสอนที่เห็นเป็นรูปธรรมได้แก่สื่อที่เป็นวัสดุและอุปกรณ์ สื่อวัสดุที่สามารถถ่ายทอดด้วยตัวเอง ได้แก่ รูปภาพ ของจริง ของจำลอง ฯลฯ และวัสดุที่ไม่สามารถถ่ายทอดได้ด้วยตัวเอง ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยให้เนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อวัสดุนั้นปรากฏออกมาให้มองเห็นหรือได้ยิน เช่น แผ่นโปร่งใส ฟิล์มสไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ เทปวีดิทัศน์ ฯลฯ แต่หากเป็นสื่อวัสดุที่บรรจุเนื้อหาประเภทภาพและเสียงแล้ว จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ประเภทเครื่องฉายที่ถ่ายทอดเสียงออกทางลำโพง โดยจะช่วยในการขยายขนาดของภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและเห็นได้อย่างชัดเจนทั่วทั้งห้อง ทำให้ผู้ชมสามารถเข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว เพิ่มความน่าสนใจรวมถึงมีความสนุกและตื่นเต้นเร้าใจเพิ่มมากขึ้นด้วย

องค์ประกอบในการฉาย
2.1  เครื่องฉาย (Projector) ใช้เป็นอุปกรณ์เครื่องมือในการถ่ายทอดเนื้อหาจากสื่อวัสดุ ปรากฏเป็นภาพหรือเสียงและภาพ ได้แก่ Over Head Projector, Slide Projector, Film Projector เป็นต้น
2.2  โสตทัศนวัสดุ (Materials) เนื่องจากเครื่องฉายจำเป็นต้องใช้ แสง ในการฉายภาพ ดังนั้นวัสดุที่ใช้ในการฉายจึงแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
2.1 วัสดุโปร่งแสง (Transparency) เป็นวัสดุที่ให้แสงผ่านได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ แผ่นโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
2.2  วัสดุกึ่งโปร่งแสง (Translucent) เป็นวัสดุที่ยอมให้แสงผ่านไปได้บ้าง แต่จะกระจายกระจายแสงทำให้ความเข้มลดลงด้วย เช่น ฟิล์มสไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์
2.3  วัสดุทึบแสง (Opaque) เป็นวัสดุที่แสงผ่านไม่ได้ เช่น กระดาษ ของจริง ของตัวอย่าง
วัสดุเหล่านี้จะต้องใช้กับเครื่องฉายที่มีระบบฉายแตกต่างกัน โดยต้องมีการบันทึกข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ภาพ หรือภาพและเสียง ลงบนวัสดุนั้นให้เรียบร้อยก่อนนำมาฉาย
2.3  จอรับภาพ (Screen) เป็นจอหรือฉากสำหรับรับภาพที่ฉายมาจากเครื่อง ให้เห็นได้อย่างชัดเจน โดยปกติจะเป็นจอที่มีพื้นผิวเคลือบด้วยวัสดุที่มีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงได้ดี แต่หากไม่สามารถหาได้จริงก็อาจใช้ผนังห้องสีขาวเป็นจอรับภาพแทนได
ระบบฉาย เครื่องฉายต่างๆ สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ระบบ
1.  ระบบฉายตรง (Direct projection)เป็นการฉายโดยให้แสงผ่านทะลุวัสดุฉายและเลนส์ฉายไปยังจอภาพในแนวเส้นตรง การใส่วัสดุต้องใส่ไว้หลังเลนส์ฉายในลักษณะตั้งฉากกับพื้น เหมือนกับภาพที่ปรากฏบนจอรับภาพ เนื่องจากเลนส์จะกลับภาพภาพที่ฉายออกไปเป็นด้านตรงข้าม ด้วยเหตุนี้จึงต้องใส่วัสดุฉายในลักษณะหัวกลับเสมอ2.  ระบบฉายอ้อม (Indirect Projection) เป็นการฉายโดยให้แสงจากหลอดฉายผ่านขึ้นไปยังเลนส์ฉาย โดยมีการหักเหของลำแสงผ่านวัสดุฉายไปยังจอรับภาพ การใส่วัสดุฉายในระบบฉายอ้อมคือ ต้องวางวัสดุฉายในแนวระนาบบนแท่นเครื่องฉาย โดยหันด้านหน้าขึ้นบนและริมล่างเข้าหาจอ3.  ระบบฉายสะท้อน (Reflected Projection) เป็นการฉายโดยให้หลอดฉายส่องตรงมายังวัสดุฉายก่อนแล้วจึงสะท้อนไปยังกระจกเงา ที่อยู่ด้านบนสุดของเครื่องสะท้อนแสงผ่านไปยังเลนส์ฉาย และส่องแสงปรากฏเป็นภาพบนจอรับภาพ การใส่วัสดุฉายในระบบฉายสะท้อนคือ ต้องวางวัสดุฉายตามลักษณะที่เป็นจริงในแนวระนาบบนแท่นวางของเครื่องฉาย
การกำหนดและติดตั้งจอภาพ (Screen Setting)
ก่อนการติดตั้งจอภาพผู้ติดตั้ง จำเป็นจะต้องพิจารณาตำแหน่งของจอภาพ นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการรับชมแก่ผู้ชม แล้ว ยังเป็นส่งผลต่อคุณภาพของภาพ ด้านความสว่าง  ความคมชัด และความถูกต้องของภาพที่ปรากฏ โดยต้องคำนึงต่อองค์ประกอบต่อไปนี้ 1.      ขนาดพื้นที่ 2.      จำนวนผู้ชมและตำแหน่งเก้าอี้ โต๊ะ หรือบริเวณของการยืนรับชม 3.      แสงสว่างภายในห้อง 4.      ตำแหน่งของเครื่องฉาย 
          การติดตั้งจอภาพสามารถกระทำได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับโครงสร้างและส่วนประกอบของจอภาพนั้นๆ เราจะพบเห็นการติดตั้งจอภาพโดยทั่วไปใน 3 ลักษณะ คือ
1.แบบสามขา หรือขาตั้ง (Tripod or Portable)  การติดตั้งลักษณะนี้ เป็นการติดตั้งที่กำหนดโดยลักษณะของจอที่ผลิตเป็นแบบเคลื่อนย้าย คือจอภาพมีขาตั้งติดมาด้วย หรือ เนื่องด้วยเป็นการติดตั้งชั่วคราว ที่สามารถแยกส่วนจอและขาตั้งจากกันได้
2. แบบยึดติดผนัง (Spring loaded wall screen) กรณีนี้มักติดตั้งเป็นการถาวร อาจจะใช้วิธีดึงจอขึ้น หรือลงก็ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะของจอของแต่ละผู้ผลิต ปัจจุบันมีระบบควบคุมการเก็บและใช้สะดวกมากขึ้น จอแบบนี้เวลาดึงออกมาใช้จะตั้งฉากกับพื้น
3.   แบบยึดติดฝ้าเพดาน คล้ายกับแบบติดผนังแต่สามารถปรับมุมในการรับภาพของจอภาพ เพื่อแก้ปัญหาการผิดเพี้ยนของภาพ ที่เรียกว่า Keystone effect
ข้อดีของสื่อฉาย
1. มีทั้งแสง สี เสียง และภาพเคลื่อนไหวประกอบดนตรี ทำให้ประทับใจและจดจำ
2. สามารถเร่งเร้าความสนใจของผู้ชมได้ตลอดเวลาที่ภาพยนตร์ฉายอยู่
3. สามารถสอดแทรกความคิดเห็น และเป็นสื่อในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติพฤติกรรมได้ง่าย
4. สามารถเสนอภาพในอดีตที่เราไม่สามารถย้อนกลับไปชมได้อีก
5. ใช้เทคนิคสร้างเหตุการณ์ประกอบฉากการถ่ายทำได้อย่างสมจริงสมจังที่สุด

ข้อจำกัดของสื่อฉาย
1.  มีค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการถ่ายทำสื่อฉาย
2.  ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มชนเป้าหมายจำนวนมาก ๆ ได้ ชมได้ในจำนวนจำกัด เพราะผู้ชมอยู่ในห้องฉายภาพยนตร์เท่านั้น
3.   มีข้อจำกัดเกี่ยวกับเครื่องอุปกรณ์และห้องฉายภาพ
ข้อมูล สำนักนวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สื่อประเภทกิจกรรม

     การจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร
รูปแบบของสื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมประเภทเผชิญหน้า
-  สัมมนา ประชุม แถลงข่าว อบรม บรรยาย
2.  กิจกรรมนิเทศทัศน์
-  เยี่ยมชมหน่วยงาน ประชาสัมพันธ์สัญจร การรวมริ้วขบวนในพิธีต่างๆ
3. กิจกรรมประเภทรื่นเริงแข่งขัน
-  แข่งกีฬาภายใน/ภายนอก
-  การแสดง การประกวด
4.  กิจกรรมเพื่อสังคม
-  เพื่อการกุศล
-  เพื่อการศึกษา
-  เสริมอาชีพ
-  กิจกรรมอื่นๆ
สื่อพิเศษ  เป็นสื่อที่ผลิตขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อสร้างความแปลกใหม่ น่าสนใจแก่ผู้พบเห็น ได้แก่
1.  สื่อป้ายผ้า 
2.  การจัดตู้แสดง
3.  สื่อผ่านทางรถประจำทาง ป้ายจอดรถประจำทาง
4.  ตัวนำโชค
ข้อดีของสื่อกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์
1.  สร้างความสนใจให้กับประชาชนต่อหน่วยงานในทางบวก2.  ทำให้ไม่ถูกลืมเลือนในวงสังคมและสื่อมวลชน
3.  เปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในกิจกรรมได้4.  เกิดภาพลักษณ์ที่ดี อันเป็นการสร้างผลทางประชาสัมพันธ์แก่หน่วยงานในระยะยาว
5. 
เป็นสื่อที่ได้ยินเสียงและภาพสวยๆให้ดู   
6. 
สามารถจับสัมผัสได้          
7.  สามารถซักถาม ตอบได้เมื่อสงสัย    
8.  นำมาเป็นสื่อตัวอย่างในการเรียนการสอนได้                   
ข้อจำกัดของสื่อกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์
1.  ใช้งบประมาณค่อนข้างสูง
2.  เจาะกลุ่มเป้าหมายได้ไม่กว้างเท่าสื่อประเภทอื่น
3.  ต้องอาศัยสื่อมวลชนและสื่ออื่น จึงจะได้ผลในแง่ประชาสัมพันธ์

4. 
มีระยะเวลาในการชมงานน้อย
5. 
บางอย่างไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก

สื่อประเภทเสียง

โสตทัศนูปกรณ์ประเภทเครื่องเสียง นับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในการสื่อสาร จากผู้ถ่ายทอดสารไปยังผู้รับสาร หรือจากสื่อที่ใช้เสียงในการเรียนรู้ ทำให้ผู้ฟังได้ยินเสียงอย่างชัดเจนดียิ่งขึ้นกว่าการพูดธรรมดา และยังเป็นสิ่งกระตุ้นความสนใจที่ช่วยให้ผู้เรียนหรือผู้รับสารเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น
                ความหมายของเครื่องเสียง เครื่องเสียงเป็นอุปกรณ์ที่เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาประเภทเสียงจากมนุษย์และแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ  ให้ดังมากขึ้นเพื่อให้ได้ระยะทางในการได้ยิน โดยมีองค์ประกอบหลักคือ ภาครับ ภาคขยาย และภาคส่งออก ซึ่งเป็นระบบการเพิ่มกำลังความดังของเสียงให้ชัดเจนและกว้างไกลมากขึ้น
            ความสำคัญของ เครื่องเสียง เสียงคนเราโดยปกติมีความดังประมาณ 60 เดซิเบล เท่านั้น และเสียงก็ไม่สามารถขยายให้ดังขึ้นหรือเก็บรักษารูปคลื่นไว้ได้ แต่เครื่องขยายเสียงสามารถเปลี่ยนเป็นคลื่นไฟฟ้าได้โดยการอาศัยทฤษฎีการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กผ่านขดลวด เครื่องเสียงจึงมีความสำคัญในการเป็นสื่อกลางของการเพิ่มความดังของเสียง เช่น เสียงจากการบรรยาย การเรียนการสอน รวมถึงแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ ด้วย
           หลักการทำงานของเครื่องเสียง การเพิ่มความดังของเสียงให้สามารถได้ยินได้ฟังกันอย่างทั่วถึง มีองค์ประกอบแบ่งออกเป็น 3 ภาคได้แก่
1.       ภาคสัญญาณเข้า (Input Signal) ภาคที่เปลี่ยนคลื่นเสียงธรรมชาติให้เป็นพลังงานไฟฟ้าความถี่เสียง ได้แก่ Microphone, CD player, Cassette tape, etc.,  เป็นต้น
2.       ภาคขยายสัญญาณ (Amplifier) ทำหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงมาขยายให้มีกำลังแรงมากขึ้น โดยไม่ผิดเพี้ยนจากแหล่งกำเนิดเสียง ได้แก่ เครื่องขยายเสียงประเภทต่างๆ หรืออุปกรณ์ที่บรรจุภาคขยายสัญญาณไว้ในตัว เช่น Mini component เป็นต้น
3.       ภาคสัญญาณออก (Output Signal) ทำหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียง ที่ได้รับการขยายแล้วมาเปลี่ยนเป็นคลื่นเสียงธรรมชาติเหมือนต้นกำเนิดเสียงทุกประการ ได้แก่ ลำโพงชนิดต่างๆ
ข้อดีของเสียง
1.  ด้านการสื่อสาร2.  ด้านความบันเทิง3.  ด้านการตรวจโรค รักษาโรค4.  ด้านการบันทึกเสียง
ผลจำกัดของเสียงที่มีต่อสภาพร่างกายและจิตใจ
1. ทำให้เกิดความรำคาญ รู้สึกหงุดหงิดไม่สบายใจ เกิดความเคลียดทางประสาท
2. รบกวนต่อการพักผ่อนนอนหลับ และการติดต่อสื่อสาร
3. ทำให้ขาดสมาธิ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และถ้าเสียงดังมากอาจทำให้ทำงานผิดพลาด หรือเชื่องช้าจนเกิดอุบัติเหตุได้
4. มีผลต่อสุขภาพร่างกาย ความเครียด อาจก่อให้เกิดอาการป่วยทางกาย เช่น โรคกระเพาะ โรคความดันสูง
5. การได้รับฟังเสียงดังเกินกว่ากำหนดเป็นระยะนานเกินไปอาจทำให้สูญเสียการได้ยิน ซึ่งอาจเป็นอย่างชั่วคราวหรือถาวรก็ได้

หลักการรับฟังเสียง
1. ได้รับเสียงไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงติดต่อกันไม่เกิน 91 เดซิเบล(เอ)
2. ได้รับเสียงวันละ 7-8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียง ติดต่อกันไม่เกิน 90 เดซิเบล(เอ)
3. ได้รับเสียงเกินวันละ 8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียง ติดต่อกันไม่เกิน 80 เดซิเบล(เอ)
4. นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่ ๆ มีระดับเสียงเกิน 140 เดซิเบล(เอ) ไม่ได้

การควบคุมการรับเสียงที่ผู้ฟัง
1.  การใช้อุปกรณ์ป้องกันต่อหู เพื่อลดความดังของเสียงมี 2 แบบคือที่ครอบหู จะปิดหูและกระดูกรอบ ๆ ใบหูไว้ทั้งหมด สามารถลดระดับความดังของเสียงได้ 20-40 เดซิเบล2.  ปลั๊กอุดหู ทำด้วยยาง หรือพลาสติก ใช้สอดเข้าไปในช่องหูสามารถลดระดับความดังของเสียงได้ 10-20 เดซิเบล3.  การลดระยะเวลาในการรับเสียงของผู้ที่อยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังเกินมาตรฐาน โดยจำกัดให้น้อยลง




สื่อสิ่งพิมพ์

สื่อสิ่งพิมพ์                        
สำหรับรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์แบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบคือ
        1. ระบบการพิมพ์ (printing System) หมายถึง การใช้แท่นพิมพ์กระดาษ และหมึกพิมพ์ในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ออกมาได้เป็นจำนวนมากในเวลาอันสัน มีอยู่หลายระบบด้วยกันคือ                   1.1 การพิมพ์แบบแม่พิมพ์นนหรือเลตเทอร์เพรส(LetterPress) มีต้นแบบมาจากกูเตูนเบิร์กโดยตัวพิมพ์จะนูนโดดขึ้รมาในกระจกเงา คิอกลับซ้าย-ขวาเมื่อกลิ้งหมึกผ่านแล้วป้อนกระดาษไปปิดทับ
          1.2 การพิมพ์แบบแม่พิมพ์แบบร่องลึกหรือโรโทกราวร์ (Rotogravure) คือตัวพิมพ์แท่นที่จะ
นูนก็กลับตรงกันข้ามคือเป็นร่องลึกลงไป หมึกจะถูกใสลงไปในร่อง และเมื่อกดกระดาษลงไปหมึกในร่องตัวพิมพ์จะถูกซึมไปปรากฎอยู่บนกระดาษาซึ่งวิธีการพิมพ์แบบนี้ค่อนข้างยาก
          1.3 การพิมพ์แบบแม่พิมพ์แบบแบนหรือออฟพริ้นติ้ง การพิมพ์แบบนี้ได้นำการถ่ายภาพที่ต้องการจะพิมพ์ลงบนแผ่นอโลมีเนียมซึ่งเรียกว่าแผ่นพิมพ์เพลทจากนั้นจากนั้นก็จะนำไปอาบนำยาเคมีที่จะบังคับให้สีใดสามารถติดได้อยู่บนบริเวณใดที่ต้องการให้ติดวิธีนี้ภาพในแผนพิมพ์จึงสามารถเป็ยนภาพลักษณะปกติไม่ต้องกลับซ้ายกลับขวา ดังเช่นวิธีที่ 2ที่ได้กล่าวมาแล้วและภาพพิมพ์ได้จะมีความคมชัดเจนสวยงามและเป็นธรรมชาติมากที่สุด           1.4 การพิมพ์แบบแม่ลายฉลุหรือซิลค์สกีน เป็นระบบที่กลิ้งหมึกผ่าน
            2. การพิมพ์แบบถ่ายภาพหรือโฟโต้กราฟฟิก ปริ้นติ้ง Photo Graphic Printin หมายถึงการใช้เครื่องมือบางอย่างถายภาพต้นฉบับหรือจากหนังสือพิมพ์
            3.การพิมพ์ในระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง เทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุปันที่ใช้ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด สะดวก รวดเร็ว

บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์
        สื่อสิ่งพิมพ์มีบทบาท ดังต่อไปนี้
             1. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานสื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์มีความสำคัญในด้านการนำเสนอข้อมูล
ข่าวสาร สาระ และความบันเทิง ซึ่งเมื่องานสื่อมวลชนต้องเผยแพร่ จึงต้องผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์, วารสาร, นิตยสาร เป็นต้น
            2. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในสถานศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ถูกนำไปใช้ในสถานศึกษาโดยทั่วไป ซึ่งทำให้
ผู้เรียน ผู้สอนเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น เช่น หนังสือ ตำรา แบบเรียน แบบฝึกหัดสามารถพัฒนาได้เป็นเนื้อหาในระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
            3. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานด้านธุรกิจ สื่อสิ่งพิมพ์ที่ถูกนำไปใช้ในงานธุรกิจประเภทต่าง ๆ เช่น งานโฆษณา ได้แก่ การผลิต หัวจดหมาย/ซองจดหมาย, ใบเสร็จรับเงิน/ใบส่งของ, โฆษณาหน้าเดียว, นามบัตร เป็นต้น
             4. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานธนาคารงานด้านการธนาคาร ซึ่งรวมถึง งานการเงิน
และงานที่เกี่ยวกับ หลักฐานทางกฎหมาย ได้นำสื่อสิ่งพิมพ์หลาย ๆ ประเภทมาใช้ในการดำเนินงาน เช่น ใบนำฝาก, ใบถอน, ธนบัตร, เช็คธนาคาร, ตั๋วแลกเงิน และหนังสือเดินทาง
              5. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีก สื่อสิ่งพิมพ์ที่ทางห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้า ปลีกใช้ในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ ใบปิดโฆษณาต่าง ๆ ใบปลิว, แผ่นพับ, จุลสาร
การออกแบบและจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์
      หลักการสร้างเอกสารสิ่งพิมพ์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
             1.
การระบุค่าต่าง ๆ ของโปรแกรม ได้แก่ ค่ากำหนดแถบไม้บรรทัด (Ruler) ว่าเป็นนิ้ว, เซนติเมตรหรือ มิลลิเมตร และยังมีการกำหนดระยะกระโดด หรือที่เรียกว่า Tab ซึ่งควรปรับแต่งค่าเหล่านี้
ก่อนการพิมพ์ให้เหมาะกับความถนัดและเหมาะกับงานพิมพ์นั้น จะช่วยให้การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เกิดความสะดวก
รวดเร็ว และตรงกับความต้องการ
             2.
การกำหนดค่าของกระดาษ กระดาษแบ่งตามผิวได้ 2 ประเภทคือ
                       2.1 กระดาษไม่เคลือบผิว เป็นกระดาษที่ไม่มีการเคลือบของผิวกระดาษด้วยสารใด ๆ จะมีลักษณะ
เป็นผิวขุรขระ
                       2.2 กระดาษเคลือบผิว เป็นกระดาษที่มีการเคลือบผิวด้วยสารเคมีที่ผิวกระดาษ เพื่อให้เกิดความมัน และเรียบ
              ซึ่งมาตรฐานสิ่งพิมพ์ขององค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน ISO (International Organization for Standardization) แบ่งมาตรฐานกระดาษไว้ 3 ชุด ชุด A และ B สำหรับงานพิมพ์ทั่วไป และชุด C  สำหรับ
งานซองจดหมาย ซึ่งกระดาษจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า สัดส่วนความกว้างและความยาวอยู่ที่ 1 : 1.414 โดยประมาณ
              3.
การตั้งค่าเครื่องพิมพ์ ได้แก่ การตั้งระยะกั้นหน้า (Left Margin) การตั้งระยะกั้นหลัง
(Right Margin) การตั้งระยะขอบบน (Top Margin) หรือการตั้งระยะขอบล่าง (Bottom) เครื่องพิมพ์
แต่ละประเภท แตกต่างกัน หากไม่ได้กำหนดค่าเครื่องพิมพ์ งานพิมพ์ที่ได้อาจเสียระยะในการจัดพิมพ์ไว้ในเอกสาร
ขั้นตอนการออกแบบสิ่งพิมพ์
             1. เก็บรวบรวมข้อมูลของสิ่งพิมพ์
             2. สรุปลักษณะต่าง ๆ เช่น ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์, ลักษณะกระดาษ
             3. ออกแบบแนวคิดสื่อสิ่งพิมพ์ว่าต้องการให้ออกมาให้รูปแบบใด
             4. ทดลองทำและแก้ไขในสิ่งที่ต้องการปรับปรุง
             5. พิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์

ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์
       สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ
              - หนังสือสารคดี ตำรา แบบเรียน
                  เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่แสดงเนื้อหาวิชาการในศาสตร์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อสื่อให้ผู้อ่าน เข้าใจความหมาย ด้วยความรู้ที่เป็นจริง จึงเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นความรู้อย่างถูกต้อง
             - หนังสือบันเทิงคดี
                  เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยใช้เรื่องราวสมมติ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับควา เพลิดเพลิน สนุกสนาน มักมีขนาดเล็ก เรียกว่า หนังสือฉบับกระเป๋า หรือ Pocket Book ได้
    
      สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร
               - หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอเรื่องราว ข่าวสารภาพและ
ความคิดเห็น ในลักษณะของแผ่นพิมพ์ แผ่นใหญ่ ที่ใช้วิธีการพับรวมกัน ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดนี้ ได้พิมพ์ออกเผยแพร่ทั้งลักษณะ หนังสือพิมพ์รายวัน, รายสัปดาห์ และรายเดือน
                - วารสาร, นิตยสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอสาระ ข่าว ความบันเทิง ที่มีรูปแบบการนำเสนอ ที่โดดเด่น สะดุดตา และสร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน ทั้งนี้การผลิตนั้น มีการ กำหนดระยะเวลาการออกเผยแพร่ที่แน่นอน ทั้งลักษณะวารสาร, นิตยสารรายปักษ์ (15 วัน) และ รายเดือน
               - จุลสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นแบบไม่มุ่งหวังผลกำไร เป็นแบบให้เปล่าโดยให้ผู้อ่านได้ศึกษา
หาความรู้ มีกำหนดการออกเผยแพร่เป็นครั้ง ๆ หรือลำดับต่าง ๆ ในวาระพิเศษ
                - สิ่งพิมพ์โฆษณา
                         - โบร์ชัวร์ (Brochure) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นสมุดเล่มเล็ก ๆ เย็บติดกันเป็นเล่ม
จำนวน 8 หน้าเป็น อย่างน้อย มีปกหน้าและปกหลัง ซึ่งในการแสดงเนื้อหาจะเกี่ยวกับโฆษณาสินค้า
                         - ใบปลิว (Leaflet, Handbill) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ใบเดียว ที่เน้นการประกาศหรือโฆษณา มักมีขนาด A4 เพื่อง่ายในการแจกจ่าย ลักษณะการแสดงเนื้อหาเป็นข้อความที่ผู้อ่าน อ่านแล้วเข้าใจง่าย
                         - แผ่นพับ (Folder) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยเน้นการนำเสนอเนื้อหา ซึ่งเนื้อหาที่นำเสนอนั้น
เป็นเนื้อหา ที่สรุปใจความสำคัญ ลักษณะมีการพับเป็นรูปเล่มต่าง ๆ
                         - ใบปิด (Poster) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณา โดยใช้ปิดตามสถานที่ต่าง ๆ มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ ซึ่งเน้นการนำเสนออย่างโดดเด่น ดึงดูดความสนใจ
    
       สิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์
                 เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์การค้าต่าง ๆ แยกเป็นสิ่งพิมพ์หลัก ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่ใช้ปิดรอบขวด หรือ กระป๋องผลิตภัณฑ์การค้า สิ่งพิมพ์รอง ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่เป็นกล่องบรรจุ หรือลัง
    
       สิ่งพิมพ์มีค่า
                 เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นการนำไปใช้เป็นหลักฐานสำคัญต่าง ๆ ซึ่งเป็นกำหนดตามกฎหมาย เช่น ธนาณัติ, บัตรเครดิต, เช็คธนาคาร, ตั๋วแลกเงิน, หนังสือเดินทาง, โฉนด เป็นต้น
           
สิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ
                 เป็นสื่อสิ่งพิมพ์มีการผลิตขึ้นตามลักษณะพิเศษแล้วแต่การใช้งาน ได้แก่ นามบัตร, บัตรอวยพร, ปฎิทิน,บัตรเชิญ,ใบส่งของ,ใบเสร็จรับเงิน,สิ่งพิมพ์บนแก้ว ,สิ่งพิมพ์บนผ้า เป็นต้น
      
     สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
                 เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้งานในคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แก่ Document Formats, E-book for Palm/PDA เป็นต้น

หลักการใช้
     สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่เราสัมผัสอยู่แทบทุกวัน ที่พบเห็นบ่อยๆ เช่น แผ่นพับ ใบปลิว แผ่นโฆษณาประชาสัมพันธ์ของบริษัท ห้างร้านต่างๆ ของใช้ในสำนักงาน ถ้าท่านทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจซื้อขายสินค้าหรือบริการ
 ล้วนต้องเกี่ยวข้องกับสื่อสิ่งพิมพ์แทบทั้งสิ้น ทั้งพิมพ์กระดาษ พิมพ์ซองจดหมาย พิมพ์แบบฟอร์มของบริษัท พิมพ์นามบัตร ไปจนถึงพิมพ์บรรจุภัณฑ์สินค้าของบริษัท เช่น พิมพ์ฉลาก พิมพ์สติ๊กเกอร์ ฯลฯ
          ในการพิมพ์งานเหล่านี้ต้องมีความละเอียดและพิถีพิถัน เพราะเป็นภาพลักษณ์ของบริษัทโดยตรง โดยเฉพาะถ้าเป็นการพิมพ์ฉลากสินค้าหรือพิมพ์งานที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการ งานพิมพ์นั้นต้องมีความคมชัด โดดเด่น การจัดวางรูปแบบต้องออกมาดีมีคุณภาพสูง
      ความสำคัญของการพิมพ์งานหรือพิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิดเริ่มขึ้นที่จุดใด
ความสำคัญของการพิมพ์งานทุกชนิดของสื่อสิ่งพิมพ์จะเริ่มต้น ตั้งแต่การออกแบบสิ่งที่จะพิมพ์ เพื่อให้ได้งานพิมพ์นั้นออกมาตามความต้องการ ไม่ว่าจะพิมพ์งานเล็กหรืองานใหญ่ เช่น การพิมพ์นามบัตร ซึ่งดูเหมือนเป็นการพิมพ์งานที่ง่ายๆ แต่ถ้าจะให้พิมพ์นามบัตรออกมาดูดีมีคุณค่านั้น ต้องมีการวางแผนวางรูปแบบ ทั้งขนาดของนามบัตร กระดาษที่จะใช้พิมพ์ การวางเลย์เอ้าท์ การเลือกสี การเลือกตัวหนังสือ และอีกหลายๆอย่าง จึงจะได้งานพิมพ์นามบัตรออกมาดูดีมีคุณภาพ ส่วนการพิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทอื่น ก็ต้องพิจารณาไปตามเนื้องานแต่ละงาน ว่างานที่จะพิมพ์นั้นเป็นงานประเภทใด จะให้ออกมาในแนวไหน สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์รวมไปถึงความเชี่ยวชาญความชำนาญเฉพาะด้านมาพิจารณาประกอบการพิมพ์งาน ยิ่งเป็นงานที่มีความละเอียดสูงๆต้องการความแม่นยำสูง ต้องพิจารณาอย่างละเอียดในทุกจุด ซึ่งอาจถึงขั้นต้องมีการวางแผนในการดำเนินการพิมพ์งานชิ้นนั้นๆ ตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนถึงขั้นพิมพ์งานนั้นๆเสร็จ จนไปถึงการส่งมอบสื่อสิ่งพิมพ์นั้นกับลูกค้า จะเห็นว่าถ้าจะให้สื่อสิ่งพิมพ์ที่จะทำการพิมพ์นั้นออกมาดีและมีคุณภาพสูง ต้องพิถีพิถัน พิจารณาทุกๆส่วน รวมถึงการเลือกโรงพิมพ์ที่จะทำการพิมพ์งานนั้นๆ ถ้าเลือกโรงพิมพ์ผิด ก็อาจทำให้งานที่พิมพ์นั้นออกมาไม่ดี เสียทั้งเงินและเวลา หรืออาจต้องทำการพิมพ์งานนั้นใหม่ทั้งหมด

ข้อดีและข้อจำกัดของสื่อสิ่งพิมพ์
ข้อดีของสื่อสิ่งพิมพ์
1. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง
2. เลือกกลุ่มเป้าหมายได้
3. รวดเร็วทันสมัย ทันเวลา
4. ค่าใช้จ่ายถูก
5. เป็นสื่อที่มีความน่าเชื่อถือ
6. สามารถส่งข่าวสารถึงกลุ่มเป้าหมาย หลายกลุ่มได้ในเวลาที่พร้อมกัน
7. สามารถออกแบบรูปแบบสื่อได้เต็มที่ เพราะไม่มีขีดจำกัดด้านเนื้อที่ ขนาด
8. สื่อมีอายุยาวนาน
9. มีความคงทนถาวร
10.
มีความยืดหยุ่นสูง เพราะอาจเปลี่ยนแปลงเนื้อหา และงบประมาณของสถาบันได้ง่าย
ข้อจำกัดของสื่อสิ่งพิมพ์

1. ไม่สามารถเข้าถึงผู้อ่านที่อ่านหนังสือไม่ออก หรือผู้สูงอายุที่สายตาไม่ดี
2. ผู้อ่านจะเลือกอ่านเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเขา
3. งบประมาณเป็นอุปสรรคในการจัดทำ
4. ยุบหรือเลิกง่าย
5. มีวัตถุประสงค์ไม่แน่นอน หรือขาดความรู้ที่น่าสนใจ
6. การเผยแพร่อยู่ในวงจำกัดเฉพาะกลุ่ม